10-อาชีพยอดฮิต

10 อาชีพยอดฮิต
“เปิดโผ….10 อาชีพฮอตฮิต เรียนแล้วไม่ตกงาน !” ดูสิค่ะว่ามีอาชีพอะไรบ้าง 1. การบัญชี – 19.71% 2. แพทยศาสตร์ – 18.75% 3. บริหารธุรกิจ – 12.02% 4. คอมพิวเตอร์ – 10.10% 5. วิศวกรรมศาสตร์ – 10.10% 6. การตลาด – 8.65% 7. นิติศาสตร์ – 8.17% 8. พยาบาลศาสตร์ – 4.81% 9. การจัดการ – 4.33% 10. รัฐศาสตร์ – 3.36% จะจบสาขาไหน วิชาอะไร อาชีพอะไรไม่สำคัญ ขอแค่เราทำอาชีพนั้นให้ดีที่สุดก็พอ

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการสมัคร GAT/PAT

ขั้นตอนการสมัคร GAT/PAT

          
ในการสมัครสอบ GAT/PAT แต่ละครั้ง มีขั้นตอนการสมัครเหมือนกันดังนี้

ขั้นตอน 1. เข้าระบบ GAT/PAT ที่ http://www.niets.or.th/ เลือกเมนู เข้าระบบ GAT/PAT (ด้านซ้ายมือ)

ขั้นตอน 2. ที่หน้าต่างใหม่ เลือก ผู้สมัครต้องการเข้าระบบ หรือ ผู้สมัครรายใหม่ต้องการลงทะเบียน

ขั้นตอน 3. ผู้สมัครรายใหม่ ลงทะเบียน จนได้ ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน

            หมายเหตุ: ผู้สมัครต้องใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในการเข้าระบบครั้งต่อไปในการทำทุกรายการ กรุณาจดและเก็บรักษาชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านไว้ในที่ปลอดภัย ผู้ที่ลืมชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่าน อาจต้องเสียเวลาและเสียค่าบริการเพื่อขอชื่อผู้ใช้หรือขอรหัสผ่านใหม่
ขั้นตอน 4. ต้องการสมัครสอบ ให้ล็อคอินเข้าระบบ โดยใช้ชื่อผู้ใช้ เลขประจำตัวประชาชน และรหัสผ่าน

ขั้นตอน 5. สมัครสอบโดยเลือกวิชาที่ต้องการ

ขั้นตอน 6. เลือกจังหวัดและอำเภอที่ประสงค์จะไปสอบ

            หมายเหตุ: สทศ. จะจัดสนามสอบให้ในเขตหรืออำเภอที่มีสนามสอบ ในกรณีที่มีการยุบสนามสอบในบางอำเภอ สทศ. จะจัดให้ผู้เข้าสอบไปสอบในอำเภอที่ใกล้เคียงที่สุดในจังหวัดเดียวกัน
ขั้นตอน 7. พิมพ์ใบจ่ายเงิน และไปชำระเงินตามช่องทางที่กำหนด

ขั้นตอน 8. เลือกสนามสอบ เฉพาะผู้สมัครที่ประสงค์จะสอบที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรีและปทุมธานี ต้องกลับมาเลือกสนามสอบให้ครบตามวันที่เลือกสอบ สทศ. จะจัดสนามสอบให้กับผู้ไม่กลับมาเลือกตามเขตที่เลือกหรือในกรณีที่ไม่มีที่นั่งสอบในเขตที่เลือก จะจัดสอบให้ใน เขตใกล้เคียงหรือในเขตที่ยังมีที่นั่งสอบ

            ผู้สมัครที่สอบในจังหวัดอื่นนอกเหนือจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่ต้องและไม่สามารถกลับมาเลือกสนามสอบได้ สทศ. จะจัดสนามสอบให้ตามจังหวัดและอำเภอที่เลือกไว้ ในขั้นตอนที่ 6 ในกรณีที่มีการยุบสนามสอบในบางอำเภอ สทศ. จะย้ายผู้สมัครไม่ยังอำเภอที่มีสนามสอบและมีที่นั่งเพียงพอภายในจังหวัดที่ผู้สมัครเลือก
ขั้นตอน 9. ตรวจสอบสถานที่สอบและที่นั่งสอบ พร้อมเลขที่นั่งสอบได้ตามวันที่จะประกาศในแต่ละครั้ง

ขั้นตอน 10. พิมพ์บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบได้ ตามวันที่จะประกาศในแต่ละครั้ง สทศ. แนะนำให้ผู้สมัครพิมพ์บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบทุกครั้ง และเก็บรักษาไว้เพื่อการใช้ประโยชน์ในภายหลัง เช่น การใช้ผลสอบเพื่อการสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย จะต้องใช้เลขที่นั่งสอบของแต่ละครั้ง

ขั้นตอน 11. ดูผลสอบได้ ตามวันที่จะประกาศในแต่ละครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น